คาปาซิเตอร์
ผลิตขึ้นจากแผ่นโลหะตัวนำไฟฟ้าบาง ๆ 2 แผ่น
วางซ้อนกันและคั่นกลางด้วยแผ่นฉนวนไฟฟ้า ม้วนเป็นรูปทรงกระบอก
นำบรรจุในภาชนะที่อาจมีการเติมน้ำมันบางชนิดที่เป็นฉนวนไฟฟ้าเข้าไป
เพื่อช่วยเป็นตัวกลางในการระบายความร้อนที่เกิดขึ้นขณะใช้งาน
ตัวคาปาซิเตอร์นี้มีความสามารถในการเก็บสะสมพลังงานไฟฟ้าในรูปของสนามไฟฟ้า (electric field)
หรือในรูปของการเก็บประจุไฟฟ้า
ซึ่งมีหน่วยที่ใช้วัดความสามารถในการเก็บประจุไฟฟ้าเป็น “ฟารัด”(farad) ความต้องการให้ได้ค่าการเก็บประจุสูงขึ้น
ทำได้โดยวิธีนำแผ่นโลหะที่ซ้อนกัน มีพื้นที่มากขึ้น
แต่ยังมีขีดจำกัดที่ไม่สามารถทำให้แผ่นโลหะดังกล่าวมีพื้นที่ใหญ่มากได้
ดังนั้นจึงมีอีกวิธีหนึ่งโดยการจำคาปาซิเตอร์ตัวเล็ก
ๆ จำนวนหลายๆ ตัวมาต่อขนานกันทางวงจร
จะได้ค่าความจุไฟฟ้ารวมตามสมการ ดังนี้
โดยที่ C เป็นค่าความจุไฟฟ้ารวม และ
จะได้ค่าความจุไฟฟ้ารวมตามสมการ ดังนี้
โดยที่ C เป็นค่าความจุไฟฟ้ารวม และ
เป็นค่าความจุไฟฟ้าของคาปาซิเตอร์ตัวเล็ก ๆ แต่ละตัว แต่ในบางครั้งความจำเป็นในการใช้งานอาจต้องการให้มีค่าความจุไฟฟ้าของคาปาซิเตอร์มีขนาดเพียงเล็กน้อยที่ไม่สามารถจะสร้างขึ้นได้
เราก็อาจใช้คาปาซิเตอร์หลายๆตัว มาต่อแบบอนุกรมทางไฟฟ้า
ก็จะได้ค่าความจุไฟฟ้าดังสมการ
ค่าความจุไฟฟ้าของคาปาซิเตอร์มันจะไม่ถูกนำมาใช้โดยตรง แต่จะแปลงค่าไปในรูปอื่น ดังต่อไปนี้
ก็จะได้ค่าความจุไฟฟ้าดังสมการ
ค่าความจุไฟฟ้าของคาปาซิเตอร์มันจะไม่ถูกนำมาใช้โดยตรง แต่จะแปลงค่าไปในรูปอื่น ดังต่อไปนี้
โดยที่ f เป็นความถี่ของระบบไฟฟ้ามีหน่วยเป็น เฮิรตซ์ (Hertz) และ Xc คาปาซิทีฟรีแอคแตนซ์ มีหน่วยเป็น โอห์ม (Ohm)
2.รีแอคทีฟเพาเวอร์
เป็นกำลังงานไฟฟ้าที่ตัวคาปาซิเตอร์สะสมไว้ดังสมการ
ซึ่งมีหน่วยเป็น VAR (volt-amp.reactive) โดยที่ V เป็นระดับแรงดันไฟฟ้าของระบบไฟฟ้ามีหน่วยเป็น โวลต์ (volt)
ซึ่งมีหน่วยเป็น VAR (volt-amp.reactive) โดยที่ V เป็นระดับแรงดันไฟฟ้าของระบบไฟฟ้ามีหน่วยเป็น โวลต์ (volt)
เพาเวอร์แฟคเตอร์คืออะไร
ระบบไฟฟ้ากระแสสลับ
หรือระบบไฟฟ้าที่เราใช้กันตามบ้านนั่นเอง
มีการวัดกำลังงานไฟฟ้าหลายหน่วยดังนี้
ก.กำลังไฟฟ้าจริง (actual
power) หรือแอคทีฟเพาเวอร์ (active porwer) จะมีหน่วยวัดเป็นวัตต์ (watt) :Pw
ข.รีแอคทีฟเพาเวอร์
(reactive power: Pr) มีหน่วยวัดเป็น VAR
กำลังไฟฟ้าส่วนนี้จะมีค่าก็ต่อเมื่อในวงจรไฟฟ้านั้น ๆ มีโหลด ชนิดที่เป็นขดลวด
เช่น มอเตอร์ เป็นต้น และที่เป็นคาปาซิเตอร์ รวมอยู่ด้วย
ค.กำลังไฟฟ้าที่ปรากฏ
(apparent power : Pa) คือกำลังไฟฟ้าที่มีหน่วยวัดเป็นโวลต์-แอมแปร์ (volt-ampere :VA)
สำหรับค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์เราก็จะสามารถหาได้จากอัตราส่วนระหว่างกำลังไฟฟ้าจริงต่อกำลังไฟฟ้าที่ปรากฏ
ดังสมการ
โดยที่ power factor
เป็นมุมระหว่างไฟฟ้าจริงกับกำลังไฟฟ้าที่ปรากฏ จะมีค่าอยู่ระหว่าง +90 องศาถึง -90 องศา
คาปาซิเตอร์กับระบบไฟฟ้ากำลัง
การติดตั้งคาปาซิเตอร์ สามารถติดตั้งได้ 2 วิธีการคือ
Automatic capacitor bank
โดยที่ power factor
เป็นมุมระหว่างไฟฟ้าจริงกับกำลังไฟฟ้าที่ปรากฏ จะมีค่าอยู่ระหว่าง +90 องศาถึง -90 องศา
การที่มุม PF มีค่าเป็นบวก
นั้นแสดงว่าภายในวงจรไฟฟ้านั้นประกอบด้วยโหลดไฟฟ้าที่เป็นคาปาซิเตอร์ อยู่มาก
ผลจากนี้ทำให้ค่า PF เป็นค่าที่เรียกว่า leading PF
และอีกกรณีหนึ่งคือมุม PF มีค่าเป็นลบก็จะแสดงว่าภายในวงจรไฟฟ้าประกอบด้วยโหลดไฟฟ้าที่เป็นพวกขดลวดอยู่มาก
โดยรีแอคทีฟเพาเวอร์มีค่าเป็นลบ ซึ่งผลทำให้ค่า PF
เป็นแบบที่เรียกว่า lagging PF
ได้อะไรเมื่อค่า PF มีค่าสูง
1.การลดค่ากำลังงานไฟฟ้าสูญเสียในสายไฟฟ้า
2.ช่วยให้สายไฟฟ้านำกำลังไฟฟ้าได้สูงขึ้น
2.ช่วยให้สายไฟฟ้านำกำลังไฟฟ้าได้สูงขึ้น
3.ช่วยเพิ่มความสามารถในการจ่ายกำลังไฟฟ้าของหม้อแปลงไฟฟ้า
4.การแก้ปัญหาแรงดันไฟฟ้าตกในสายไฟฟ้า
5.การลดค่าการใช้พลังงานไฟฟ้า
คาปาซิเตอร์กับระบบไฟฟ้ากำลัง
การกำหนดขนาดกำลังของคาปาซิเตอร์ที่จะนำมาใช้ในการปรับปรุงค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์
เราควรต้องให้ความสำคัญด้วย เพราะการเลือกขนาดที่ไม่เหมาะสม
นอกจากจะไม่ให้ประโยชน์อย่างที่เราตั้งใจไว้กลับจะเป็นผลเสียแก่ระบบไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าอีกด้วย
ถ้าคาปาซิเตอร์มีขนาดใหญ่เกินจำเป็น การหาขนาดของคาปาซิเตอร์
เราสามารถหาได้จากสมการ ดังนี้
การติดตั้งคาปาซิเตอร์ สามารถติดตั้งได้ 2 วิธีการคือ
1.ติดตั้งประจำตัวอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละตัวที่ให้ค่า
PF ต่ำ แล้วต้องการปรับปรุงค่า PF ให้สูงขึ้น ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีการที่นิยมใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทมอเตอร์ชนิดเหนี่ยวนำซึ่งเป็นมอเตอร์ที่ให้
PF ต่ำ
2.การติดตั้งคาปาซิเตอร์สำหรับระบบไฟฟ้าทั้งระบบ
คือการนำคาปาซิเตอร์มาติดตั้งรวมกันที่ต้นทางของระบบไฟฟ้าซึ่งเป็นวิธีการที่ค่อนข้างจะนิยมใช้กันมาก
เพราะนอกจากจะทำให้การควบคุมดูแลได้สะดวกแล้ว
ยังสามารถนำเอาระบบการควบคุมอัตโนมัติมาใช้ได้ด้วย ซึ่งเรียกกันว่า automatic capacitor bank
Automatic capacitor bank
เนื่องจากการใช้คาปาซิเตอร์มาติดตั้งรวมกันเพื่อปรับปรุงค่า
PF ของระบบไฟฟ้าทั้งหมด
มีปัญหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการใช้กำลังไฟฟ้าในระบบนั้นๆ อยู่ตลอดเวลา
จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงค่าของคาปาซิเตอร์ไปด้วย
เพื่อให้มีความสัมพันธ์กับการใช้กำลังไฟฟ้าในขณะนั้น ๆ
ระบบการตัดต่อคาปาซิเตอร์กับวงจรไฟฟ้าแบบอัตโนมัติจึงถูกนำมาใช้
โดยมีอุปกรณ์ควบคุมซึ่งเรียกกันว่า ชุดควบคุม PF (Power
factor controller) หรือชุดควบคุมรีแอคทีฟเพาเวอร์(kVAR controller)
เป็นตัวควบคุมเพื่อให้ระบบไฟฟ้ามีค่า PF ตามที่ตั้งเอาไว้ วิธีการเลือกค่าคาปาซิเตอร์ให้เหมาะสม
ต้องพิจารณารายการดังต่อไปนี้
1.กำลังไฟฟ้าที่ใช้สูงสุด
2.กำลังไฟฟ้าเฉลี่ยและเป็นระดับค่าที่ใช้เป็นประจำ
3.กำลังไฟฟ้าที่มักมีการผันแปร
4.ระดับ PF
สูงสุด-ต่ำสุดที่ยอมรับได้
*******************************************
สนใจรายละเอียดเกี่ยวกับ Capacitor และอุปกรณ์ควบคุมได้ที่นี้ครับ