เมื่อต้องเปลี่ยน ATS
รูปที่ 1 ATS แบบ Magnetic พร้อมกับ Interlock
เหตุผลที่ลูกค้าต้องการเปลี่ยน ATS จากเดิม
สืบเนื่องจาก
1.ลดการเสี่ยงในการใช้งาน เนื่องจาก size
งานมีความสำคัญ ไม่สามารถเกิดไฟดับ หรือไฟตกได้
2.ให้ความเสถียรภาพทางการใช้งานทั้งสองแหล่งจ่าย
ไม่ว่าจะเป็นแหล่งจ่ายด้านการไฟฟ้า (Main source) และแหล่งจ่ายสำรองไฟฟ้าสำรอง
(Emergency source)
3.เน้นการใช้งานที่ง่าย ไม่ซับซ้อนต่อผู้ใช้งาน
และ 4.ได้งานการันตี service 1 ปี (
คิดเองครับ.......)
โดยหลักการ ATS (Automatic Transfer Switch) ก็คือ
เบรกเกอร์แบบหนึ่ง (Breaker) ที่ใช้สับสวิตซ์เปิด-ปิด ไฟฟ้า (voltage,
current) เพื่อนำไปใช้งาน
แต่ปัจจุบัน ATS ได้มีการพัฒนาขึ้น
เพื่อความสะดวกและปลอดภัยกับผู้ใช้งาน จึงแบ่งเป็น 3 แนวใหญ่ๆ ครับ
แนวที่ 1 Single coil
แนวที่ 2 Motor-drive
แนวที่ 3 Magnetic
ซึ่งทั้ง 3 แนว มีหน้าที่เหมือนกัน คือ ทำหน้าที่สับกระแสไฟฟ้าในแหล่งจ่ายที่ต้องการ
เช่น เมื่อไฟดับ ATS จะสับไปยังแหล่งจ่ายสำรอง อาจจะทำได้โดย Auto , Manual ซึ่งแล้วการออกแบบใช้งานแต่การสั่งให้ทำงานของ
ATS แต่ละแบบจะมีหลักการที่แตกต่างกันออกไป
มาพิจารณากันครับ ในการเปลี่ยน ATS
การเปลี่ยน ATS ในสภาพที่ต้องดับไฟน้อยที่สุด จำเป็นต้องมีการ Bypass
ไฟฟ้าให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
จากรูปที่ 2
ทำการ Bypass ไฟฟ้าจ่ายให้โหลด เพื่อใช้งานชั่วคราว
รูปที่ 3 ATS
เก่า
เป็นแบบ Motor-drive
รูปที่ 4
รื้ออุปกรณ์ทางไฟฟ้า เพื่อมาทำวงจรควบคุม ATS ใหม่
รูปที่ 5
ยึดอุปกรณ์ แล้วเตรียม wiring
รูปที่ 6
เตรียมยึดเข้ากับตู้
รูปที่ 7
ยึดแล้วเตรียม wiring power
รูปที่ 8 wiring
power 2 source
รูปที่ 9
เก็บงาน พร้อมทดสอบการทำงาน
เมื่อทำการ wiring ทั้งระบบควบคุมและสายไฟฟ้าเสร็จ ก็จะดำเนินการทดสอบระบบการทำงานของ ATS โดยจะมีฟังก์ชันดังนี้
- เมื่อไฟดับ จะดำเนินการตั้งเวลาในการ transfer ไปยังแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำรองกี่นาที หรือกี่วินาที
- เมื่อไฟจากแหล่งจ่ายหลัก กลับมาปกติ จะดำเนินการตั้งเวลาในการ transfer กลับกี่นาที หรือวินาที
ซึ่งเวลาในการ transfer นั้้น จะเป็นเราที่ตั้งเอง เพื่อการใช้งานจริง
มาดู การ Transfer ATS แบบ Magnetic
VDO 1 แสดงการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 1000 KVA กับตู้ ATS