Search

Detail Energy & Power Technology

facebook.com

เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการติดต่อ สื่อสารกับทางทีมงาน
ระหว่าง แลกเปลี่ยน ความรู้ ประสบการณ์ ด้านไฟฟ้าหรือเกี่ยวข้องครับ
แวะไป พูดคุย ได้ครับ

FACEBOOK.COM/pages/Chinaree-engineering

ปล.สำหรับ บทความ และคำถามที่ส่งมา ผมจะทยอยตอบให้มากที่สุดครับ
ระยะเวลาดังกล่าว ออกไปติดตั้งงาน Turbine ตอนนี้ระบบเสร็จเกือบหมดแล้ว
จึงมีเวลามาอัพเดตข้อมูลครับ

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Circuit breaker (SF6) ตอนที่ 3

คุณสมบัติของก๊าซ SF6
รูปที่ 1 โครงสร้างทางโมเลกุลของ SF6
ก๊าซ SF6 มีชื่อเรียกว่า ซัลเฟอร์-เฮก-ซาฟลูออไรด์ (Sulphur-hexafluoride)เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น โครงสร้างของโมเลกุล ดังรูปที่ 1 จะอยู่ในสภาวะสมมาตร(symmetrically) เป็นอย่างยิ่ง โดยมีอะตอมของซัลเฟอร์อยู่ที่จุดศูนย์กลางและล้อมรอบด้วยอะตอมฟลูออรีน 6 อะตอม ซึ่งก่อให้โครงสร้างของโมเลกุลแบบ octahedron อิเล็กตรอนของอะตอมฟลูออรีน 6 อะตอมจะเข้าจับกับอิเล็กตรอนอิสระของอะตอมซัลเฟอร์อีก 6 อะตอม ซึ่งทำให้อะตอมทั้งสองประเภทจับกันเข้าเป็นคู่ๆ อย่างสมบูรณ์ จึงทำให้โมเลกุลของก๊าซ SF6 มีความเสถียรภาพและไม่เกิดปฏิกิริยาทางเคมีใดๆ โดยสามารถทนอุณหภูมิได้ถึง 500 °c และสามารถนำไปใช้กับวัสดุที่เป็นฉนวนได้ทุกๆ ประเภท
เนื่องจากก๊าซมีน้ำหนักโมเลกุลค่อนข้างสูง ดังนั้นก๊าซ SF6 จึงมีความหนาแน่นสูงมาก คือ ตกประมาณ 5 เท่าของอากาศ และความเร็วเสียงในก๊าซ SF6 จะตกประมาณ 130 เมตร/วินาที
ความเป็นฉนวนของก๊าซ SF6
ก๊าซ SF6 มีค่าความเป็นฉนวนสูงมาก เนื่องจากอิเล็กตรอนจะถูกจับและยึดไว้แน่นกับโมเลกุลของก๊าซ จะเหลืออยู่ก็แต่เพียงอิออนลบ ทำให้ก๊าซ SF6 มีคุณสมบัติเป็นอิเล็กโตรเนกาตีฟ สูงมาก  ดังนั้นประจุไฟฟ้าที่มักจะเกิดขึ้นจากอิเล็กตรอนอิสระที่ถูกเร่งให้มีความเร็วในสนามแม่เหล็ก จึงถูกต่อต้านด้วยคุณสมบัติของอิออนลบ คุณสมบัติข้อนี้เองของก๊าซ SF6 รวมทั้งความเสถียรทำให้ต้องการพลังงานในการทำให้ก๊าซเกิดการอิออนไนเซชั่นสูงมาก ตกประมาณ 19EV จึงจะทำให้ก๊าซมีค่าความเป็นฉนวนสูง ค่าความเป็นฉนวนของก๊าซ SF6 จะเพิ่มขึ้น เมื่อค่าความดันของก๊าซสูงมากขึ้นที่ค่าความดันบรรยากาศ ค่าความดันเป็นฉนวนนี้จะสูงกว่าค่าความเป็นฉนวนของอากาศประมาณ 2.5ท่า
การเสียหายของเบรกเกอร์ SF6



รูปที่ 2 Breaker SF6 ที่มีการรั่วที่กระบอก บริเวณลูกถ้วย
 
การเสียหายหรือใช้การไม่ได้ของเบรกเกอร์ SF6 อันเป็นผลมาจากการที่กระบอกที่บรรจุก๊าซ SF6 จะเกิดการรั่วนั้น มีโอกาสเกิดขึ้รน้อยกว่าการที่มีอากาศรั่วไหลเข้ามาในกระบอกของเบรกเกอร์แบบสุญญากาศ เพราะกระบอกบรรจุก๊าซ SF6 ทำด้วยสารจำพวกอิป๊อกซี่ ซึ่งมีความแข็งแรงทนทาน ต่อความเสียหาย และความกระทบกระเทือนทางกายภาพมากกว่ากระบอกแก้วหรือกระบอกเซรามิกในเบรกเกอร์แบบสุญญากาศ กระบอกบรรจุก๊าซ SF6 ซึ่งเดิมมีค่าความดันที่ 22 psi สามารถทำการตัดตอนกระแสไฟฟ้าได้ตามปกติ
แม้ว่าจะเกิดการรั่ว ค่าความดันในกระบอกไม่เหลือเลย แต่อากาศก็ไม่สามารถเข้าไปในกระบอกบรรจุก๊าซได้
เพราะยังมีค่าความดันเป็นบวกอยู่ ก็ยังสามารถตัดตอนกระแสไฟฟ้าได้อย่างน้อย 1 ครั้ง
ยกเว้นกรณีมีอากาศเข้าไปแทนที่ก๊าซ ในกระบอกบรรจุ หน้าคอนแทคจะเกิดความเสียหาย เมื่อมีการตัดตอนกระแส ดังนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้น ควรหมั่นตรวจสอบ กลไกการทำงานของชุดอุปกรณ์ควบคุม หรือฉนวน
อายุการใช้งานของกระบอกบรรจุก๊าซ SF6 เป็นต้น เพื่อการใช้งานอย่างปลอดภัย และยืนยาวนั่นเอง
.........................................
มี catalog Circuit Breaker ทุกประเภท ของ ABB,Schneider Electric,Mitsubishi Electric
"MV Switchgear, MV/LV Dry type transformer, Low Voltage Circuit Breaker, Power meter, Surge arrester MotorStarter , UPVC Conduit and Accessories"
ติดต่อ narongpongc@gmail.com หรือ 0815028840