Search

Detail Energy & Power Technology

facebook.com

เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการติดต่อ สื่อสารกับทางทีมงาน
ระหว่าง แลกเปลี่ยน ความรู้ ประสบการณ์ ด้านไฟฟ้าหรือเกี่ยวข้องครับ
แวะไป พูดคุย ได้ครับ

FACEBOOK.COM/pages/Chinaree-engineering

ปล.สำหรับ บทความ และคำถามที่ส่งมา ผมจะทยอยตอบให้มากที่สุดครับ
ระยะเวลาดังกล่าว ออกไปติดตั้งงาน Turbine ตอนนี้ระบบเสร็จเกือบหมดแล้ว
จึงมีเวลามาอัพเดตข้อมูลครับ

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ทดสอบตู้ควบคุมอินดักชั่นมอเตอร์เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

การทดสอบ และทำตู้ควบคุม ระบบไฟฟ้าพลังงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ลม, น้ำ,แสงอาทิตย์ ,ชีวมวล,เครื่องยนต์ต้นกำลัง หรือกระทั่ง turbine แบบต่างๆ ตู้ที่ใช้ในการจำหน่ายไฟฟ้า จากโรงไฟฟ้าเข้าสู่ระบบจำหน่าย ทั้ง 220 Volt,380 Volt,22 และ 33 KVolt หรือเรียกว่าตู้สำหรับขนานไฟ (paralleling)เพื่อทำการขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้า (ขณะนี้กำลังทดสอบ 115 KVolt อยู่ครับ)
มาดูผลงานบางส่วนกัน
สำหรับโรงไฟฟ้าแต่ละแบบที่มีขึ้นในประเทศไทยนั้น การออกแบบ และติดตั้งตู้ควบคุม (control panal)ก็จะแตกต่าง แต่มีหลักการง่าย ๆ คือ ทำอย่างไรให้แรงดัน,ความถี่ ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มีความเสถียรภาพ (stability) มากที่สุด เพื่อง่ายต่อการขนาน และจำหน่ายไฟฟ้าออกไป
ตัวอย่างเช่น โรงไฟฟ้าพลังน้ำนะครับ
ข้อมูลคร่าวๆ เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่ใช้ turbine แบบ crow-flow เป็นตัวต้นกำลัง

รูปที่ 1 Inspection test ขั้วและสายไฟของ induction motor โดยหมุนด้วยความเร็วประมาณ 300 รอบ/นาที แล้วทดเกียร์เพิ่มอีกเป็น 1000 รอบ/นาที เพื่อทำการหมุน induction motor 160 KW แล้วจำหน่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ 22 KVolt โดย induction motor เป็น 3-phase 380 volt มีสองตัว (สลับกันเดิน)

รูปที่ 2 เป็นตู้ควบคุมและแสดงสภาวะการใช้งาน โดยบอกถึงสภาวะไฟฟ้าเข้าโรงไฟฟ้า (แผงบน)และสภาวะของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (induction motor)(แผงล่าง)และจะทำการเปลี่ยนใหม่เป็นระบบดิจิตอล ทั้ง protection,metering
รูปที่ 3 แสดงหม้อแปลง step-up 400/2200 volt ครับ
หลังจากทราบรายละเอียดคร่าวๆ แล้ว ก็ดำเนินการทำตู้ควบคุมกันเลย (หมายเหตุ การทำวงจรขึ้นมารองรับกับพลังงานแต่ละชนิดนั้น ในทางทฤษฏี สามารถคำนวณและsimulation ได้ไม่มากนัก ดังนั้นจึงทำการทดสอบที่หน้างานเลย)
รูปที่ 4 ค่อนข้างวุ่นวายกับสายไฟฟ้า และตัวอุปกรณ์ต่างๆ
รูปที่ 5 กำลังดำเนินการทดสอบ induction motor แบบเดินตัวเปล่าก่อน โดยหมุนด้วยความเร็ว 1000 รอบ/นาที
รูปที่ 6 เมื่อทดสอบเดินเครื่องผ่าน ก็ wiring สายไฟตามวงจรที่ออกแบบมา
รูปที่ 7 เมื่อตู้ควบคุม (control panal)เสร็จ พร้อมทดสอบขนานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ
รูปที่ เปิดประตูน้ำพร้อมสำหรับการหมุน induction motor
 รูปที่ เมื่อ turbine หมุน ก็ไปทดรอบเพื่อหมุน motor

รูปที่ 10 induction motor หมุนแล้ว พร้อมทำการวัดความเร็วรอบ

รูปที่11 เมื่อวัดความเร็วรอบ จะได้ประมาณ 999-1000รอบ/นาที
รูปที่ 12 จากรูปที่ เมื่อขนานเครื่องแล้ว ตัว induction motor สามารถหมุนด้วความเร็ว synchronous ก็กลายเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ให้กำลังไฟฟ้าออกมาทั้ง KW,KVar,current,power factor


รูปที่ 13 แสดงถึง กำลังทางไฟฟ้า ที่จ่ายออกไป 150 KW
รูปที่ 14 กระแสไฟฟ้าที่จ่ายออกมาเช่นกัน
รูปที่ 15 แสดงภาพการไหลของน้ำ เมื่อผ่านทำการปั่นไฟแล้วครับ 

การทดสอบขนานเครื่องดังกล่าว ทำการเดินเครื่องทั้งสองสลับกันถึง 6 เดือน เพื่อทดสอบการทำงานของระบบควบคุมต่างๆ  ครับ ไฟฟ้าพลังน้ำ size ดังกล่าว ขายไฟฟ้าได้หน่วยละ 2.7 บาท วันหนึ่งผลิตได้ประมาณ3600 หน่วย คิดเป็นเงินประมาณ 9720 บาท/วัน หรือได้ 291600 บาท/เดือนครับ
.............................................