Search

Detail Energy & Power Technology

facebook.com

เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการติดต่อ สื่อสารกับทางทีมงาน
ระหว่าง แลกเปลี่ยน ความรู้ ประสบการณ์ ด้านไฟฟ้าหรือเกี่ยวข้องครับ
แวะไป พูดคุย ได้ครับ

FACEBOOK.COM/pages/Chinaree-engineering

ปล.สำหรับ บทความ และคำถามที่ส่งมา ผมจะทยอยตอบให้มากที่สุดครับ
ระยะเวลาดังกล่าว ออกไปติดตั้งงาน Turbine ตอนนี้ระบบเสร็จเกือบหมดแล้ว
จึงมีเวลามาอัพเดตข้อมูลครับ

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เมื่อนิวเคลียร์ ไม่ใช่คำตอบที่ ใช่ สำหรับประเทศไทย

สมดุล ต้นทุนพลังงานไฟฟ้า
เมื่อนิวเคลียร์ ไม่ใช่คำตอบที่ ใช่ สำหรับประเทศไทย
จากอุบัติภัยที่เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมา ประเทศญี่ป่น ภายหลังเกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่ แผ่นดินไหวและสึนามิ ทำให้หลายประเทศรวมถึงประเทศไทยต้องกลับมาทบทวนแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้าภายในประเทศอีกครั้ง
ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP) ประเทศไทยมีแนวคิดในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ใน 5 พื้นที่เป้าหมาย คือ
1.อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี  
2.พนมรอก อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์
3.บ้านไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด 
4.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี 
และ 5.บ้านปากน้ำละแม อ.ละแม จ.ชุมพร  ทว่าได้รับการต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่ตลอดมา เนื่องจากเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย กอรปกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่น  ยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงความรู้สึกไม่เชื่อมั่นของประชาชนมากยิ่งขึ้น
        เมื่อพลังงานนิวเคลียร์ ไม่ใช่คำตอบที่ ใช่ สำหรับประเทศไทย คำถามคือ แล้วพลังงานแบบไหน จึงจะเป็นคำตอบที่ ใช่ การสะท้อนถึงสถานการณ์การใช้พลังงานไฟฟ้าในปัจจุบัน จำเป็นต้องตระหนักและหารือ แก้ปัญหา ร่วมกัน  รวมทั้งต้องตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้
        1.ระบบผลิตไฟฟ้า ต้องเพียงพอต่อการใช้
        ข้อเท็จจริง : พลังงานไฟฟ้าที่มีอยู่ในปัจจุบันผลิตจากหลาย
เทคโนโลยี แต่ที่มีการใช้อย่างต่อเนื่องยาวนาน คือ ไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน โดยเชื้อเพลิงหลักที่ใช้ คือ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และน้ำมันเตา
เทคโนโลยีถัดมา คือ ไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนร่วม (combined cycle power plant)เป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ ลดการสูญเสีย โดยประเทศไทยมีโรงไฟฟ้าที่เป็นพลังงานความร้อนร่วมประมาณ 6,800 เมกะวัตต์ จากปริมาณการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด 29,000 เมกะวัตต์ และยังมีเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำ (hydro power plant) จากเขื่อน 17 เขื่อน ผลิตไฟฟ้าประมาณ 3,400 เมกะวัตต์
        นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้เอกชนร่วมผลิตกระแสไฟฟ้าในสัดส่วน  50:50 โดยโรงไฟฟ้าที่ผลิตโดยเอกชนแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ดังนี้
·        กลุ่มโรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (Independent Power Producer: IPP)มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 90 เมกะวัตต์ขึ้นไป  ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงประมาณ 10,805 เมกะวัตต์  ถ่านหินประมาณ 1,346 เมกะวัตต์ รวมประมาณ  12,000  เมกะวัตต์
·        กลุ่มเอกชนผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (Small Power Producer:SPP)
มีกำลังการผลิตไฟฟ้าตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 90  เมกะวัตต์  ผลิตไฟฟ้าทั้งในรูปแบบไฟฟ้าและไอน้ำร่วม  (cogeneration)  และผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน(renewable)
·        กลุ่มเอกชนผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กมาก  (Very Small Power Producer: VSPP)  ผลิตไฟฟ้าที่มีกำลังผลิตไฟฟ้าต่ำกว่า หรือตั้งแต่  10 เมกะวัตต์ลงมา ผลิตฟ้าและไดน้ำร่วมกัน(cogeneration)โดยเฉพาะผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่ใช้พลังงานหมุนเวียน (renewable)
2.ระบบสายส่งต้องมีความมั่นคง
ข้อเท็จจริง : ระบบสายส่งต้องมีความมั่นคง  และเชื่อถือได้ครอบคลุม
และมีเสถียรภาพ ไม่กระชาก ไม่กระพริบ ปัจจุบันประเทศไทย มีสถานีไฟฟ้าแรงดันสูงประมาณ 208 แห่งทั่วประเทศ มีพิกัดหม้อแปลง 75,505 MVA มีความยาวสายส่ง  30,555วงจรกิโลเมตร
        3.ความสามารถในการพึ่งพาตัวเอง
        ข้อเท็จจริง : ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ ทั้งในแง่แหล่งเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า  โดยเชื้อเพลิงที่สามารถหาได้ภายในประเทศมีประมาณ 88 เปอร์เซ็นต์ของเชื้อเพลิงที่ใช้ทั้งหมด
แบ่งเป็น ก๊าซธรรมชาติ ประมาณ 72 เปอร์เซ็นต์ ถ่านหิน ประมาณ  10  เปอร์เซ็นต์ พลังงานน้ำ 5 เปอร์เซ็นต์  และอื่นๆ อีกประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ แหล่งก๊าซธรรมชาติที่สำคัญ คือ อ่าวไทย ส่วนบนบกจากแหล่งสินภูฮ่อม จ.อุดรธานี และ 1 ใน 3 ของการใช้ คือ ก๊าซธรรมชาติที่นำเข้าจากพม่าและยังต้องมีการนำเข้ากระแสไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน  คือ สปป.ลาว โดยได้มีการทำ MOU ซื้อขายไฟฟ้าประมาณ 7,000  เมกะวัตต์
        นอกจากนี้ยังต้องมีความหลากหลายในการใช้เชื้อเพลิง หากพึ่งพาเชื้อเพลิงอย่างหนึ่งอย่างใดมากเกินไป ก็จะเกิดปัญหา  ยกตัวอย่าง ปัญหาที่เกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม ปีพ.ศ.2552 แหล่งก๊าซธรรมชาติบงกชมีปัญหา  ขณะเดียวกันแหล่งก๊าซของพม่าก็มีปัญหาเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าลดลงทันที จำเป็นต้องทดแทนการผลิตไฟฟ้าด้วยดีเซล  น้ำมันเตา  และพลังงานน้ำที่เขื่อนศรีนครินทร์ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วม  เนื่องจากมีการบุกรุกเขตน้ำไหล ทำให้ต้องหยุดกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำโดยทันที ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างของการพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งหนึ่งแหล่งใดมากที่สุด ทำให้อยู่ในภาวะที่เสี่ยง ในหลายประเทศจึงนิยมกระจายความเสี่ยงในปริมาณที่มีสัดส่วนเท่ากัน ญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างที่ดีของการกระจายความเสี่ยง โดยใช้ถ่านหิน ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ ใช้ก๊าซธรรมชาติ  ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ พลังงานทดแทน ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์  และนิวเคลียร์ ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์
        สำหรับประเทศไทยถือว่ามีความเสี่ยง เนื่องจากใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ส่วนระบบท่อก๊าซธรรมชาติก็เช่นเดียวกัน ในเวลานี้มีท่อจากอ่าวไทยขึ้นบก 3 ท่อ จากพม่ามาไทยอีก 1  ท่อ หากเกิดปัญหาท่อรั่ว จะส่งผลกระทบต่อระบบผลิตไฟฟ้าของไทยทันที
       4.สังคมให้การยอมรับ
        ข้อเท็จจริง :การเลือกใช้เทคโนโลยีในการผลิตพลังงานไฟฟ้าต้องเป็นเทคโนโลยีที่สังคมยอมรับได้ ไม่เบียดเบียนวิถีชีวิตของคนในชุมชน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญคนในชุมชนต้องมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจ
        ทั้งหมดนี้ คือ ปัจจัยในการควบคุมความสมดุลพลังงานไฟฟ้า ที่ต้องประกอบด้วย สมดุลทางด้านเทคนิค/เทคโนโลยีการผลิต สมดุลด้านระบบสายส่ง สังคมให้การยอมรับ ไม่ส่งกะทบต่อวิถีชุมชน สิ่งแวดล้อม และที่สำคัญสามารถพึ่งพาตัวเองได้