เนื้อหาที่สนใจ

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Circuit breaker (SF6) ตอนที่ 2

กลไกการทำงานของเบรคเกอร์แบบ SF6 พิจารณาจากรูปที่ 1
รูปที่ 1
ส่วนประกอบต่างๆ ของเบรกเกอร์ มีหน้าคอนแทคสองชุด ก็คือ หน้าคอนแทคหลัก (main contact) และหน้าคอนแทคอาร์ค (arc contact) ซึ่งทำงานในลักษณะคู่ขนาน โดยหน้าคอนแทคอาร์ค จะเป็นตัวที่ปิดวงจรก่อน ในขณะที่หน้าคอนแทคเคลื่อนเข้าหากัน และจะทำหน้าที่เปิดวงจรที่หลังเมื่อหน้าคอนแทคเคลื่อนที่ออกจากกัน ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้เกิดการกัดกร่อนเนื่องจากอาร์คขึ้น กับหน้าคอนแทคหลัก ซึ่งจะแสดงรายละเอียดขั้นตอนการทำงาน เปิด/ปิด ดังนี้
1.ในสภาวะที่หน้าคอนแทคปิด กระแสของวงจรจะไหลผ่านหน้าคอนแทคทั้งหมด ทั้งชุดเคลื่อนที่และชุดอยู่กับที่ รวมทั้งท่อตัวนำกระแส (conductor tube)
2.เมื่อเบรกเกอร์จะเปิดวงจรหรือจะทำการตัดต่อ ชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ทั้งหมดจะเคลื่อนที่ลงมาด้านล่าง แต่เนื่องจากลูกสูบ นั้นยังอยู่กับที่ ก๊าซ SF6 ที่บรรจุอยู่ในกระบอกสูบจึงถูกอัด
3.เมื่อหน้าคอนแทคหลักเปิดออกแล้ว กระแสก็จะไหลผ่านหน้าคอนแทคอาร์คเท่านั้น
4.ในขณะเดียวกันนั้นก๊าซ SF6 ที่บรรจุอยู่ในกระบอกสูบจะยังคงถูกอัดด้วยลูกสูบและค่าความดันของก๊าซ SF6 จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
5.เมื่อมีอาร์คเกิดขึ้น เนื่องจากการเปิดหน้าคอนแทคอาร์ค ก๊าซ SF6 ที่ถูกอัดจะถูกเป่าเข้าไปดับอาร์คโดยผ่านทางหัวฉีดอัดก๊าซ ซึ่งทำให้อาร์คถูกดับก๊าซ SF6 ที่ถูกอัดจะถูกเป่าออกไปจากเบรคเกอร์เหมือนกับลักษณะของปืนฉีดน้ำ
6.ขณะเปิดวงจร ก๊าซ SF6 จะถูกเป่าออกไปดับอาร์ค จะเห็นได้ว่า กระแสอาร์คจะถูกกระจายออกไปทั้งในทิศทางขึ้นไปข้างบนและลงมาข้างล่าง
7.หลังจากการเปิดวงจรแล้ว ช่องว่างที่อยู่ระหว่างชุดหน้าคอนแทคคงที่และเคลื่อนที่นั้นจะถูกปกคลุมด้วยก๊าซ SF6 ทำหน้าที่เป็นฉนวนป้องกันมิให้เกิดอาร์คขึ้นมาใหม่
.........................................

มี catalog Circuit Breaker ทุกประเภท ของ ABB,Schneider Electric,Mitsubishi Electric
"MV Switchgear, MV/LV Dry type transformer, Low Voltage Circuit Breaker, Power meter, Surge arrester MotorStarter , UPVC Conduit and Accessories"
ติดต่อ narongpongc@gmail.com หรือ 0815028840