- แบบใช้น้ำมัน (oil circuit breaker)
- แบบอากาศ (air circuit breaker)
- แบบสุญญากาศ (vaccum circuit breaker)
หลักการของ circuit แบบ SF6
ส่วนประกอบที่สำคัญของเบรคเกอร์แบบนี้ คือ กระบอกบรรจุหน้าคอนแทคที่ภายในมีก๊าซ SF6 บรรจุอยู่ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับกระบอกของเบรคเกอร์แบบสุญญากาศ ภายในกระบอกจะเป็นภาชนะปิด มีความดันของก๊าซ SF6 เป็น 1.5 เท่าของความดันบรรยากาศ (ประมาณ 22 psi)
ซึ่งนั่นเป็นข้อดีของ SF6 เพราะกระบอกที่บรรจุหน้าคอนแทคสามารถเก็บ SF6 ที่มีค่าความดันสูงกว่าโดยไม่เกิดการรั่วไหลเข้าสู่ภายใน และยังมีสวิตซ์ความดัน ไว้ตรวจจับการรั่วไหลของ SF6 ด้วย และตัวเบรคเกอร์เองมีขนาดกะทัดรัดและทำงานอย่างน่าเชื่อถือ พร้อมมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน โดยสามารถตัดตอนในขณะที่กระแส full load พร้อมทั้งอายุการใช้งานของกลไกประมาณ 10,000 ครั้ง หรือในใช้ขณะมีการตัดตอนกระแสลัดวงจรก็สามารถใช้ได้ตั้งแต่ 30-50 ครั้ง
......................................