Search

Detail Energy & Power Technology

facebook.com

เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการติดต่อ สื่อสารกับทางทีมงาน
ระหว่าง แลกเปลี่ยน ความรู้ ประสบการณ์ ด้านไฟฟ้าหรือเกี่ยวข้องครับ
แวะไป พูดคุย ได้ครับ

FACEBOOK.COM/pages/Chinaree-engineering

ปล.สำหรับ บทความ และคำถามที่ส่งมา ผมจะทยอยตอบให้มากที่สุดครับ
ระยะเวลาดังกล่าว ออกไปติดตั้งงาน Turbine ตอนนี้ระบบเสร็จเกือบหมดแล้ว
จึงมีเวลามาอัพเดตข้อมูลครับ

วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

เรียนรู้เรื่องระบบไฟฟ้ากำลัง (1) การไฟฟ้า

1) การไฟฟ้า
ประเทศไทยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ และเกี่ยวข้องกับระบบการผลิต และส่งจ่ายไฟฟ้ากำลังใหญ่ๆ รวม 3 หน่วยงาน

  • การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, กฟผ.(Electricity Generating Authority of Thailand, EGAT)
  • การไฟฟ้านครหลวง, กฟน. (Metropolitan Electricity Authority, MEA)
  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, กฟภ. (Provincial Electricity Authority, PEA)
1.1)การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
     การไฟฟ้าฝ่ายผลิต เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่ในการวางแผนการเตรียมระบบผลิตไฟฟ้าของทั้งประเทศไทย เช่นสร้างโรงผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ, พลังงานความร้อน จากก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น ระบบที่ผลิตจะมีการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าที่แรงดัน 500 กิโลโวลต์, 230 กิโลโวลต์ และ 115 กิโลโวลต์ ขายต่อการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
     ในปัจจุบันการใช้กำลังไฟฟ้าได้เติบโตอย่างรวดเร็วจนการสร้างโรงไฟฟ้าผลิตไม่ทันต่อการบริโภค จึงมีการเปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนสามารถทำการผลิตไฟฟ้าได้ ซึ่งสามารถขายให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้เลย ซึ่งโรงไฟฟ้าเอกชนดังกล่าว จะแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
IPP, SPP, VSPP


1.2)การไฟฟ้านครหลวง
     การไฟฟ้านครหลวงเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เพื่อทำการส่งขายให้ลูกค้าทั้งเอกชน และหน่วยงานรัฐบาล ภายในเขตกรุงเทพมหานคร, นนทบุรี, สมุทรสาคร, สมุทรปราการ
     ระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง มีทั้้งระบบเดินลอยบนเสาไฟฟ้า และระบบสายใต้ดิน ระบบส่งจ่ายไฟฟ้ามีหลายแรงดันไฟฟ้าดังนี้

  • ระบบ 220 V. 1 Phase และ 220/380 V. 3 Phase 50 Hz มีขนาดมิเตอร์สูงสุด 400 A.
  • ระบบ 12 KV. 3 Phase เป็นระบบแรงดันไฟฟ้าเดิมที่ปัจจุบันยังมีใช้อยู่แต่จะยกเลิกในอนาคต สำหรับลูกค้ารายใหม่ที่จะขอใช้ไฟฟ้าที่อยู่ในเขตการจ่ายไฟฟ้า 12 KV. จะต้องจัดเตรียมระบบภายในอาคารให้รับไฟฟ้าทั้งระบบ 12 KV. และ 24 KV. ในอนาคต
  • ระบบ 24 KV. 3 Phase เป็นระบบแรงดันไฟฟ้าที่เริ่มทำการจ่ายไฟฟ้า และทยอยเปลี่ยนเขตการจ่ายไฟฟ้า 12 KV. เป็น 24 KV. การขอใช้ไฟฟ้าหากลูกค้าอยู่ในเขตสายส่งไฟฟ้าใต้ดิน การไฟฟ้านครหลวงจะจ่ายไฟฟ้าให้ในระบบ Ring Main โดยลูกค้าจำเป็นต้องจัดเตรียมห้องให้การไฟฟ้านครหลวง ที่ระดับชั้นพื้นดินที่มีทางเข้าออกห้องได้จากภายนอกอาคาร ขนาดของการใช้ไฟฟ้า สำหรับระบบจ่ายไฟฟ้า 24 KV. จะต้องมีขนาดความต้องการไฟฟ้าไม่เกิน 15,000 KVA.
  • ระบบ 69 KV. 3 Phase เป็นระบบไฟฟ้าที่การไฟฟ้านครหลวงทำการจ่ายให้ลูกค้าที่มีขนาดความต้องการไฟฟ้าเกิน 15,000 KVA.     
1.3)การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
     การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่รับซื้้อจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเพื่อส่งขายให้ลูกค้าทั่วทั้งประเทศ โดยยกเว้นเขตการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้แบ่งพื้นที่รับผิดชอบออกเป็น 4 ภาค คือภาคกลาง, ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, และภาคใต้
     เนื่องจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รับผิดชอบพื้นที่เกือบทั่วประเทศไทย ระบบส่งกำลังไฟฟ้า จึงเป็นระบบเดินบนเสาไฟฟ้า และมีระบบแรงดันไฟฟ้าต่างจากการไฟฟ้านครหลวง ดังนี้

  • ระบบ 230 V 1 Phase และ 230/400 V. 3 Phase มีขนาดมิเตอร์สูงสุด 400 A
  • ระบบ 22 KV. 3 Phase โดยสามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าได้ไม่เกิน 10,000 KVA ต่อ 1 สายป้อน
  • ระบบ 33 KV 3 Phase เป็นระบบที่ใช้เฉพาะจังหวัดเชียงราย พะเยา และภาคใต้ นับตั้งแต่จังหวัดระนองลงไป ขนาดไม่เกิน 10,000 KVA ต่อ 1 สายป้อน
  • ระบบ 69 KV หรือ 115 KV 3 Phase จะจ่ายกำลังไฟฟ้าให้เฉพาะลูกค้าที่มีความต้องการไฟฟ้าเกิน 10,000 KVA
**********************************************