เนื้อหาที่สนใจ

วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลในประเทศไทย


การขออนุญาตสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลในประเทศไทย
รูปที่ 1 โรงไฟฟ้าร้อยเอ็ดกรีน
ที่มา :  egco.com

ประเทศไทยถือเป็นประเทศเกษตรกรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก เนื่องจากมีประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากกว่าร้อยละ 50 จึงทำให้มีวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้หรือหลายคนอาจคุ้นหูกันดีในชื่อของ “พลังงานชีวมวล” การผลิตกระแสไฟฟ้าจากชีวมวลนั้นคืออีกแนวทางหนึ่งที่ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยกำลังให้การสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม แต่เมื่อประมาณช่วงต้นปี 2554 กระแสของการลงทุนทางด้านพลังงานชีวมวลได้กลับมาคึกคักอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรที่หันมาให้ความสนใจกับพลังงานชีวมวลกันมากขึ้น หรือคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอได้มีการส่งเสริมการลงทุนโดยอนุมัติให้แก่โครงการต่าง ๆ เพิ่มขึ้นรวมถึงแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี (ปี 2551-2565) โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ที่วางเป้าหมายในการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวลให้ได้ 2,800 เมกะวัตต์ภายในปี 2554 และ 3,700 เมกะวัตต์ ภายในปี 2565 จากปัจจุบันที่เข้าระบบแล้ว 1,600 เมกกะวัตต์ และมีการยื่นเสนอขายไฟฟ้ามาประมาณ 2,263 เมกะวัตต์
ดังนั้น ในภาวะที่พลังงานทดแทนกำลังเป็นที่ต้องการและความต้องการใช้ไฟฟ้าก็มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี การลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลจึงเป็นโครงการที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับเจ้าของชีวมวลและผู้ลงทุนที่สนใจจะดำเนินโครงการ  ซึ่งยังมีความจำเป็นต้องทราบข้อมูลและรายละเอียดในการก่อสร้างด้วย โดยเฉพาะเรื่อง “การขออนุญาตสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลในประเทศไทย และอัตราค่า Adder
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าชีวมวล
ชีวมวล (Biomass) คือ สารอินทรีย์ทุกรูปแบบที่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานจากธรรมชาติและสามารถนำมาใช้ผลิตเป็นพลังงานได้ ซึ่งมีแหล่งที่มาจากที่ต่าง ๆ อาทิ พืชผลทางการเกษตร (Agricultural Crops) เศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร (Agricultural Residues) ไม้และเศษไม้ (Wood and Wood Residues) หรือของเหลือจากอุตสาหกรรมและชุมชน
โรงไฟฟ้าชีวมวล (Biomass Power Plant) คือ โรงไฟฟ้าที่ใช้เศษวัสดุจากเชื้อเพลิงชีวมวล ได้แก่ กากหรือเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร กากจากผลผลิตทางการเกษตรที่ผ่านการแปรรูปแล้ว เช่น แกลบ ฟางข้าว ชานอ้อย เศษไม้ กากปาล์ม กากมันสำปะหลัง ซังข้าวโพด กากและกะลามะพร้าว ส่าเหล้า ฯลฯ มาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าและพลังไอน้ำ ซึ่งอาจเป็นเศษวัสดุชนิดเดียวหรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ โดยชีวมวลแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ส่วนหลักการทำงานของโรงไฟฟ้าชีวมวลจะคล้ายคลึงกับโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน (Thermal Power Plant) ทั่วๆไป แต่เปลี่ยนมาใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงใน การเผาไหม้เพื่อให้เกิดความร้อนในการผลิตไอน้ำแทนเชื้อเพลิงจากฟอสซิล (น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ)
การขออนุญาตสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลในประเทศไทย
ในการดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลจำเป็นต้องขออนุญาตจากหน่วยงานราชการในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
ลำดับขั้นตอนการขออนุญาต/อนุมัติ
ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า แยกตามประเภทเทคโนโลยีและเชื้อเพลิง
*******************************************
ที่มา
1.สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
2.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
3.การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
4.มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม