Search

Detail Energy & Power Technology

facebook.com

เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการติดต่อ สื่อสารกับทางทีมงาน
ระหว่าง แลกเปลี่ยน ความรู้ ประสบการณ์ ด้านไฟฟ้าหรือเกี่ยวข้องครับ
แวะไป พูดคุย ได้ครับ

FACEBOOK.COM/pages/Chinaree-engineering

ปล.สำหรับ บทความ และคำถามที่ส่งมา ผมจะทยอยตอบให้มากที่สุดครับ
ระยะเวลาดังกล่าว ออกไปติดตั้งงาน Turbine ตอนนี้ระบบเสร็จเกือบหมดแล้ว
จึงมีเวลามาอัพเดตข้อมูลครับ

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ตัวอย่างการ overhaul hydro-turbine โรงไฟฟ้าพลังน้ำห้วยแม่สอด จ.ตาก

เป็นกรรมวิธีการจัดการ ถอด ทดสอบ และประกอบ Turbine
รูปที่ 1 Hydro-Turbine ที่จะทำการถอด
พิจารณาในส่วนของ Turbine            

1. Turbine Part
          1.1 Runner Blade ทำความสะอาด, Visual Check, Cauitation Check ด้วย  น้ำยา
PT เพื่อหารอยร้าว หากพบรอยร้าว ทำการซ่อมด้วยการเชื่อมด้วยลวดเชื่อม Staineless 309L และทำ Balancing ให้อยู่ในค่ามาตรฐาน
รูปที่ 2 Runner ที่ทำการตรวจสอบรอยร้าว
          1.2 Spiral Case ทำความสะอาด, ตรวจสอบ Wear Ring  และ Hex Bolt หาก
สึกหรอทำการเปลี่ยนวัสดุเป็น Stainless Steel  ทาสี  Coal Tar Epoxy ในส่วนที่สัมผัสน้ำอย่างน้อย 2 ชั้น
รูปที่ 3 Spiral Case ที่กำลังถูกถอดออกมา
รูปที่ 4 Spiral Case ด้านหลัง
          1.3 Draft Tube ถอดและตรวจสอบสภาพ และปรับปรุงและทาสีด้วย Coal Tar Epoxy  2  ชั้น
รูปที่ 5 Draft Tube 
          1.4 Guide Vane Mechantsm ถอดตรวจสอบ จุดหมุน ตรวจสอบและปรับปรุง Lever & Rod ตรวจสภาพ Guide Vane ให้ค่า Leakage น้อยที่สุด
รูปที่ 6 ใบ Guide Vane
รูปที่ 7 Guide Vane ที่ทำการตั้ง gap
           1.6 ชุด Turbine Grand Seal เปลี่ยนใหม่โดยมีขนาดและพิกัดและคุณสมบัติวัสดุดังเดิม      
รูปที่ 8 Turbine Grand Seal
จากข้อมูลเป็นขั้นตอนการ วิธีการปฏิบัติงานด้านการซ่อมบำรุง Hydro-Turbine คร่าวๆ นะครับ        
              

เราลองมาดูการทดสอบ start-stop Hydro-Turbine หลังจากประกอบเสร็จ
การ start Hydro-turbine 

การ stop Hydro-turbine
  นี้เป็นตัวอย่างให้ผู้สนใจพิจารณา ศึกษา ต่อไปครับ  
..............................................