Search

Detail Energy & Power Technology

facebook.com

เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการติดต่อ สื่อสารกับทางทีมงาน
ระหว่าง แลกเปลี่ยน ความรู้ ประสบการณ์ ด้านไฟฟ้าหรือเกี่ยวข้องครับ
แวะไป พูดคุย ได้ครับ

FACEBOOK.COM/pages/Chinaree-engineering

ปล.สำหรับ บทความ และคำถามที่ส่งมา ผมจะทยอยตอบให้มากที่สุดครับ
ระยะเวลาดังกล่าว ออกไปติดตั้งงาน Turbine ตอนนี้ระบบเสร็จเกือบหมดแล้ว
จึงมีเวลามาอัพเดตข้อมูลครับ

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Circuit breaker ตอนที่ 1

อุปกรณ์ตัดต่อนที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้า ระหว่าง 380-22,000 volt มีอยู๋หลายแบบ ได้แก่
  • แบบใช้น้ำมัน (oil circuit breaker)
  • แบบอากาศ (air circuit breaker)
  • แบบสุญญากาศ (vaccum circuit breaker)
และในกรณีแบบสุญญากาศ จะมีการใช้ก๊าซ SF6 ดังนั้นเราจะมาพิจารณาตัว SF6
หลักการของ circuit แบบ SF6
     ส่วนประกอบที่สำคัญของเบรคเกอร์แบบนี้ คือ กระบอกบรรจุหน้าคอนแทคที่ภายในมีก๊าซ SF6 บรรจุอยู่ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับกระบอกของเบรคเกอร์แบบสุญญากาศ ภายในกระบอกจะเป็นภาชนะปิด มีความดันของก๊าซ SF6 เป็น 1.5 เท่าของความดันบรรยากาศ (ประมาณ 22 psi)
ซึ่งนั่นเป็นข้อดีของ SF6 เพราะกระบอกที่บรรจุหน้าคอนแทคสามารถเก็บ SF6 ที่มีค่าความดันสูงกว่าโดยไม่เกิดการรั่วไหลเข้าสู่ภายใน และยังมีสวิตซ์ความดัน ไว้ตรวจจับการรั่วไหลของ SF6 ด้วย และตัวเบรคเกอร์เองมีขนาดกะทัดรัดและทำงานอย่างน่าเชื่อถือ พร้อมมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน โดยสามารถตัดตอนในขณะที่กระแส full load พร้อมทั้งอายุการใช้งานของกลไกประมาณ 10,000 ครั้ง หรือในใช้ขณะมีการตัดตอนกระแสลัดวงจรก็สามารถใช้ได้ตั้งแต่ 30-50 ครั้ง
......................................