Search

Detail Energy & Power Technology

facebook.com

เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการติดต่อ สื่อสารกับทางทีมงาน
ระหว่าง แลกเปลี่ยน ความรู้ ประสบการณ์ ด้านไฟฟ้าหรือเกี่ยวข้องครับ
แวะไป พูดคุย ได้ครับ

FACEBOOK.COM/pages/Chinaree-engineering

ปล.สำหรับ บทความ และคำถามที่ส่งมา ผมจะทยอยตอบให้มากที่สุดครับ
ระยะเวลาดังกล่าว ออกไปติดตั้งงาน Turbine ตอนนี้ระบบเสร็จเกือบหมดแล้ว
จึงมีเวลามาอัพเดตข้อมูลครับ

วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วิธีการสตาร์ทอินดักชั่นมอเตอร์ (Start Induction Motor)




แต่ถ้าแหล่งจ่ายไฟฟ้ามีความสามารถในการจ่าย(Capacity)ค่อนข้างจำกัด เราจำเป็นต้องคำนึงถึงแรงดันตกที่เกิดจากกระแสเริ่มหมุน กล่าวคือถ้าให้มอเตอร์ขับโหลดหนัก ๆ ก่อนหมุนขณะที่มีแหล่งจ่ายไฟฟ้าและสายเมนไม่เหมาะสม จะทำให้แรงดันตกในไลน์มาก เมื่อแรงดันตกมอเตอร์อาจสร้างแรงบิดได้ไม่สูงพอที่จะเร่งให้โหลดหมุนถึงพิกัดได้อย่างรวดเร็ว (Fluctuate) จากสาเหตุดังกล่าวนี้ในการสตาร์ทอินดักชั่นมอเตอร์จึงจำเป็นต้องจำกัดกระแสให้น้อยลงและต่อกับโหลดที่เหมาะสม
ตามปกติ Induction Motor จะต่ออยู่กับแรงดันเต็มพิกัดจะใช้กระแสเริ่มหมุนประมาณ 5 ถึง 10 เท่าของกระแสเต็มพิกัด ค่ากระแสหาได้จากผลหารของแรงดันต่อค่าอิมพีแดนซ์รวมของมอเตอร์ขณะหยุดนิ่ง ดังนั้นถ้าลดแรงดันลงไปครึ่งหนึ่งของค่าเต็มพิกัดจะทำให้กระแสเริ่มหมุนลดลงไปครึ่งหนึ่งด้วย แต่การที่แรงดันลดลงไปครึ่งหนึ่งจะทำให้แรงบิดเริ่มหมุนลดลงไปเหลือเพียง ¼ ของพิกัด ดังนั้นการเริ่มหมุนโดยวิธีนี้ จึงไม่เหมาะที่จะต่อมอเตอร์ไว้กับโหลดหนักๆ ก่อนหมุน เพราะถ้าแรงบิดที่มอเตอร์สร้างขึ้นมีค่าน้อยกว่าแรงบิดของโหลด มอเตอร์จะไม่หมุนเลย
ในการสตาร์ทมอเตอร์โดยวิธีลดแรงดันนี้ ส่วนมากแล้วจะใช้กับมอเตอร์ ที่มีขนาดตั้งแต่ 7.5 แรงม้าขึ้นไป การสตาร์ทโดยวิธีลดแรงดันสามารถทำได้ 5 วิธีด้วยกันคือ
1.การสตาร์ทโดยใช้ออโตทรานสฟอร์เมอร์ลดแรงดัน (Reduced voltage auto-Transformer starting)
     เป็นการต่อระหว่างอินดักชั่นมอเตอร์ 3 เฟสเข้ากับเครื่องช่วยหมุน 3 เฟสที่ต่อเป็นแบบสตาร์ มีปุ่มต่อแยก (tap) เพื่อปรับแรงดันได้ 2 ระดับ เป็นแรงดันต่ำประมาณ 50% ของพิกัดแรงดัน และเป็นแรงดันสูงประมาณ 80% ของพิกัดแรงดัน
ในบางครั้งการออกแบบเครื่องช่วยหมุนอาจจะสร้างให้ประหยัดลงอีกก็ได้ โดยการตัดหม้อแปลงออก 1 ตัวเหลือเพียง 2 ตัว และต่อแบบ Open Delta (หรือ V-V) แต่การต่อแบบนี้จะทำให้กระแสไม่สมดุล กล่าวคือกระแสในไลน์ L2 จะแตกต่างจากไลน์อื่นประมาณ 10-15%

2.การสตาร์ทโดยใช้รีซิสเตอร์ หรือรีแอคเตอร์ต่ออันดับลดแรงดัน (Reduced voltage, primary resistor or Reactor starting)
     ถ้าใช้รีซีสเตอร์ R หรือ รีแอคเตอร์ XL ต่อคั่นระหว่างไลน์กับมอเตอร์ก็จะทำให้กระแสและแรงบิดเริ่มหมุนลดลงได้เช่นเดียวกัน บางครั้งเรียกว่า “Primary Impedance Acceleration” 

3.การสตาร์ทโดยการต่อสตาร์-เดลต้า (Star-Delta starting)
     ขดลวดทางสเตเตอร์ของอินดักชั่นมอเตอร์ชนิด 3 เฟส ส่วนใหญ่จะต่อเป็นแบบเดลต้า และผู้ผลิตนิยมโผล่ขั้วสายเพื่อต่อใช้งานไว้ข้างนอก โดยมีอักษรกำกับขั้วสายไว้ในกรณีที่สตาร์ทเป็นแบบสตาร์ จะมีแรงดันตกคร่อมขดลวดแต่ละขดเพียงเศษหนึ่งส่วนสแควรูทสาม หรือ 57% ของแรงดันไลน์

4.การสตาร์ทโดยต่อกับบางส่วนของขดลวด (Part-winding starting)
     อินดักชั่นมอเตอร์ชนิด 3 เฟส จะพบบ่อยๆว่าขดลวดทางสเตเตอร์นั้นแยกพันออกเป็น 2 ชุด โดยมีจำนวนรอบและขนาดลวดเท่ากันทุกประการ ขดลวดทั้ง 2 ชุดนี้จะต้องพันให้มีขั้วแม่เหล็กเท่ากัน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดสนามแม่เหล็กหมุนค่าเดียวกัน ที่ปลายขดลวดชุดหนึ่งจะต่อเป็นแบบสตาร์และโผล่ปลายสายที่เหลืออีก 9 ขั้วออกมาเพื่อต่อใช้งาน 
การต่อขนานขดลวดแบบสตาร์ 2 ชุดนี้ นอกจากจะต่อเพื่อให้เหมาะสมกับแรงดันใช้งานแล้ว การแยกขดลวดยังมีประโยชน์ในการควบคุมกระแสเริ่มหมุนของมอเตอร์อีกด้วย ในการสตาร์ทถ้าต่อขดลวดใช้งานเพียงชุดเดียวจะช่วยลดกระแสเริ่มหมุนลงเหลือประมาณ 65% ของกระแสเริ่มหมุนเต็มพิกัดโดยเทียบกับเมื่อต่อขดลวด 2 ชุด และป้อนแรงดันเต็มพิกัดจะเห็นว่าการ start motor วิธีนี้เป็นการการต่อขดลวดเพียงบางส่วนในขณะเริ่มหมุน (Part Winding Starting) 


5.การสตาร์ทแบบ(Wound-rotor starting)
วิธีการเริ่มหมุนของเวานด์ โรเตอร์ อินดักชั่นมอเตอร์ โดยต่อความต้านทานจากภายนอกเข้าไปรวมกับอิมพีแดนซ์ในวงจรโรเตอร์ แต่การสตาร์ทโดยวิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดเพราะให้ประโยชน์ถึง 2 ประการคือ
1.สามารถปรับให้แรงบิดเริ่มหมุนมีค่าสูงเท่ากับแรงบิดของมอเตอร์ปกติได้
2.สามารถควบคุมความเร็วของมอเตอร์

ในการปรับค่าแรงบิดหรือความคุมความเร็วก็ดี สามารถทำได้ง่ายมาก โดยการปรับค่าความต้านทานทั้ง 3 ของตัวควบคุม (resistance controller) เท่านั้น