Search

Detail Energy & Power Technology

facebook.com

เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการติดต่อ สื่อสารกับทางทีมงาน
ระหว่าง แลกเปลี่ยน ความรู้ ประสบการณ์ ด้านไฟฟ้าหรือเกี่ยวข้องครับ
แวะไป พูดคุย ได้ครับ

FACEBOOK.COM/pages/Chinaree-engineering

ปล.สำหรับ บทความ และคำถามที่ส่งมา ผมจะทยอยตอบให้มากที่สุดครับ
ระยะเวลาดังกล่าว ออกไปติดตั้งงาน Turbine ตอนนี้ระบบเสร็จเกือบหมดแล้ว
จึงมีเวลามาอัพเดตข้อมูลครับ

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การทดสอบประสิทธิภาพเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Dummy load test)

เป็นการทดสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบใช้เครื่องยนต์ดีเซลโดยใช้โหลดเทียม (Resistance load)
ต้นกำลังเป็นเครื่องยนต์ มิตซูบิชิ ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง
รูปที่ 1 
และ alternator เป็นของ KOHLER 
รูปที่ 2
โดยขนาดกำลังไฟฟ้าที่จ่ายออกมา คือ 830 KVA หรือ 664 KW ที่ pf 0.8 380 VAC, 50 Hz ครับ
รูปที่ 3
จากรูปที่ 3 จะเห็นภาพของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ได้ต่อสายไฟกับโหลดเทียม(resistance load,pf=1) เพื่อทำการทดสอบต่อไป ในการติดตั้ง หรือใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จำเป็นต้องทดสอบประสิทธิภาพการทำงาน ว่า "สามารถผลิตกระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า ตามข้อมูลจากโรงงานผลิตได้หรือไม่" ซึ่งสามารถพิจารณาถึงประสิทธิภาพของทั้งเครื่องยนต์และขดลวดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าก่อนส่งมอบงานให้แก่ผู้ใช้งานต่อไป ซึ่งจากรูป เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดังกล่าวนำไปติดตั้ง และใช้งานแบบ stanby (ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าดับ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะ back-up ไฟฟ้าแทนได้) 
ในการดำเนินทดสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จำเป็นต้อง start-stop แบบเดินตัวเปล่า เพื่อจดค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ดัง VDO_1



เมื่อดำเนินการทดสอบเดินเครื่องแบบตัวเปล่าแล้ว ก็ถึงเวลาในการทดสอบโหลด โดยจะเพิ่มการจ่ายโหลดเป็น 25% , 50% , 75% , และ 100% ของกำลังไฟฟ้าที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าผลิตออกมา
และจาก VDO_2 เป็นการแสดงการจ่ายโหลดประมาณ 512 KW
ซึ่งจะเพิ่มโหลดขึ้นไปเรื่อยๆ ตาม step จนถึง 100% และนอกจากนั้นพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าและเครื่องยนต์ จะถูกเก็บข้อมูลต่อไป เพื่อใช้พิจารณาหรือเป็นข้อมูลเปรียบเทียบ เมื่อมีการติดตั้งกับการใช้โหลดจริง หรือสำหรับการซ่อมบำรุงต่อไป
............................................