Search

Detail Energy & Power Technology

facebook.com

เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการติดต่อ สื่อสารกับทางทีมงาน
ระหว่าง แลกเปลี่ยน ความรู้ ประสบการณ์ ด้านไฟฟ้าหรือเกี่ยวข้องครับ
แวะไป พูดคุย ได้ครับ

FACEBOOK.COM/pages/Chinaree-engineering

ปล.สำหรับ บทความ และคำถามที่ส่งมา ผมจะทยอยตอบให้มากที่สุดครับ
ระยะเวลาดังกล่าว ออกไปติดตั้งงาน Turbine ตอนนี้ระบบเสร็จเกือบหมดแล้ว
จึงมีเวลามาอัพเดตข้อมูลครับ

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

ทางเลือกโรงไฟฟ้าและการผลิตไฟฟ้า

โอกาส-อุปสรรคพลังงานทางเลือกแต่ละชนิด
พลังงานทางเลือกที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยมีหลายชนิด มาติดตามกันว่าพลังงานแต่ละชนิดมีความเหมาะสมและมีศักยภาพที่จะนำมาใช้ผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยมากน้อยเพียงใด
พลังงานแสงอาทิตย์

เป็นพลังงานที่ได้จากธรรมชาติ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม หากมีการส่งเสริมให้เกิดการผลิต การใช้และเทคโนโลยีของตนเอง พลังงานจากแสงอาทิตย์จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน มีโอกาสพึ่งพาตัวเองได้ในระยะยาว สามารถเป็นแหล่งผลิตพลังงานที่กระจายตัวอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ได้ เนื่องจากประเทศไทยมีศักยภาพด้านพลังงานแสงอาทิตย์สูง โดยบริเวณที่ได้รับรังสีดวงอาทิตย์สูงสุดเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี และจังหวัดอุดรธานี และบางส่วนของภาคกลาง อย่างจังหวัดสุพรรณบุรี ชัยนาท อยุธยา และจังหวัดลพบุรี
อย่างไรก็ตาม การผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ในปัจจุบันยังมีอุปสรรคอยู่ที่ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าทั่วไปประมาณ 200-300 % จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาและส่งเสริมให้มีต้นทุนที่ถูกลงอย่างเป็นระบบต่อไป


พลังงานลม
ประเทศไทยอยู่ใกล้เขตเส้นศูนย์สูตร ความเร็วลมเฉลี่ยจึงอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ภูมิประเทศไทยมีลมแรงเหมือนประเทศในโซนเหนือ แต่เนื่องจากลมเป็นแหล่งพลังงานธรรมชาติที่น่าสนใจตรงที่ไม่มีต้นทุนด้านพลังงาน/เชื้อเพลิง ซึ่งแหล่งพลังงานลมที่มีศักยภาพของประเทศไทยอยู่ที่ริมชายฝั่งทะเลภาคใต้ บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา และจังหวัดปัตตานี และพื้นที่บนภูเขาสูงในภาคอีสาน และอีกส่วนหนึ่งอยู่บริเวณเทือกเขาด้านทิศตะวันตก ตั้งแต่ภาคใต้ตอนบนจดภาคเหนือตอนล่างในเขตจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดตาก เป็นต้น
ทั้งนี้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมยังมีอุปสรรคหลายด้าน ทั้งจากพื้นที่ที่มีศักยภาพลมสูงเข้าถึงได้ยาก และพลังงานลมในประเทศไทยอยู่ในระดับต่ำ-ปานกลาง และต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมยังสูงกว่าการผลิตพลังงานทั่วไปประมาณ 50-100% แต่หากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม พลังงานลมจะเป็นอีกหนึ่งพลังงานทางเลือกที่น่าสนใจ


พลังงานน้ำ
ประเทศไทยมีแหล่งพลังงานน้ำที่มีศักยภาพจะพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำหลายแห่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพลังน้ำท้ายเขื่อนชลประทาน พลังน้ำขนาดเล็ก และพลังน้ำขนาดเล็กมาก แต่แหล่งที่มีศักยภาพส่วนใหญ่มักมีขนาดกำลังการผลิตได้น้อย และพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพจะตั้งอยู่ในเขตอุทยาน เขตชลประทาน การพัฒนาจึงอาจมีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมหรือตั้งอยู่ในเขตพื้นที่หวงห้าม และการเข้าถึงเพื่อบำรุงรักษาทำได้ยากลำบาก จึงมีข้อจำกัดในการดูแลรักษา แต่เนื่องจากไฟฟ้าพลังน้ำ เป็นเทคโนโลยีพลังงานทดแทนที่ได้รับการพัฒนามาระยะหนึ่งแล้ว จึงทำให้มีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่ำกว่าพลังงานธรรมชาติประเภทอื่นๆ หากได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง พลังงานน้ำจะช่วยส่งเสริมไฟฟ้าในระบบปกติได้เป็นอย่างดี


พลังงานชีวภาพ
ประเทศไทยจัดได้ว่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านก๊าซชีวภาพ เนื่องจากมีอุตสาหกรรมเกษตรจำนวนมากซึ่งแหล่งวัตุดิบสำหรับผลิตก๊าซชีวภาพที่มีศักยภาพของไทยมาจากน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตรและการแปรรูป โดยน้ำเสียจากอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังจะถูกนำมาผลิตเป็นก๊าซชีวมวลสูงสุด รองลงมาได้แก่ อุคสาหกรรมสุราและเบียร์ อาหาร และเอทานอล ตามลำดับ มีศักยภาพรวมทั้งสิ้น 943.7 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี มีการผลิตเป็นก๊าซชีวภาพแล้ว 356.9 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และจากฟาร์มปศุสัตว์ต่างๆ มีศักยภาพรวม 1,260.4 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี มีการผลิตเป็นก๊าซชีวภาพแล้ว 173.8 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี
และนอกเหนือจากอุตสาหกรรมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรและฟาร์มปศุสัตว์แล้ว ยังมีวัตถุดิบอื่นๆ ที่นำมาผลิตก๊าซชีวภาพได้ อาทิ กากมันจากโรงงานแป้งมันสำปะหลัง หญ้าแห้ง ทะลายปาล์ม เส้นใยกะลาปาร์ม กากปาล์ม ยอดอ้อย และใบอ้อย
     ปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพจากกระบวนการต่างๆ ได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้น อันเนื่องจากราคาพลังงานที่สูงขึ้นเป็นลำดับ มีทั้งนำมาใช้เพื่อผลิตไฟฟ้า ความร้อน และใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ อย่างไรก็ตาม การผลิตพลังงานจากก๊าซชีวภาพ จำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศโดยเฉพาะเทคโนโลยีการใช้ก๊าซชีวภาพ และอุปกรณ์ประกอบ หากไทยสามารถพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตของตนเองได้ และสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องให้แก่ประชาชน ก๊าซชีวภาพจะเป็นหนึ่งทางเลือกที่ช่วยเสริมความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ประเทศไทยได้


ชีวมวล
ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาพลังงานทดแทนจากชีวมวลจากซากผลผลิตทางการเกษตรเป็นจำนวนมากที่สามารถนำไปเผาไหม้เพื่อนำพลังงานความร้อนที่ได้ไปใช้ในกระบวนการผลิต หรือนำไปผลิตไฟฟ้าทดแทนพลังงานจากฟอสซิลได้ อาทิ การนำชานอ้อยจากโรงงานน้ำตาลมาเผาให้ความร้อน เพื่อผลิตไอน้ำและนำไปผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในกระบวนการผลิต ซึ่งไฟฟ้าส่วนที่เหลือยังสามารถส่งเข้าระบบสายส่งไฟฟ้าได้หรือโรงไฟฟ้าบางแห่งก็ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าเพื่อขายให้แก่การไฟฟ้า พลังงานทดแทนจากชีวมวลจึงเป็นความหวังพลังงานที่ยั่งยืนของคนไทยให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้ เพราะเป็นพลังงานที่เป็นมิตรต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตาม การผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลในปัจจุบัน อาจมีปัญหาปริมาณชีวมวลไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ทำให้ราคาชีวมวลสูงขึ้น นอกจากนั้นยังมีปัญหาในการเก็บรวบรวมชีวมวล ซึ่งหากระยะทางไกลก็จะมีค่าขนส่งที่แพงตามมา ปัญหาการควบคุมคุณภาพ ปัญหาการเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบ รวมถึงการขาดความรู้ความเข้าใจทางด้านพลังงานทดแทนของชาวบ้านที่อาจทำให้เกิดการต่อต้าน ดังนั้น หากรัฐให้การสนับสนุนและส่งเสริมเทคโนโลยีที่เหมาะสมและสร้างตวามรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนในพื้นที่ โรงไฟฟ้าชีวมวลจะเป็นโรงไฟฟ้าที่ช่วยลดค่าใช้จ่าย ด้านพลังงานให้แก่คนในชุมชนได้
...........................................